ประกันสำหรับผู้หญิงและประกันทั่วไป ต่างกันอย่างไร?

ประกันสำหรับผู้หญิงและประกันทั่วไป ต่างกันอย่างไร?

คุณทราบหรือไม่ว่า “เบี้ยประกันที่คุณจ่ายแม้จะเป็นชุดเดียวกัน แต่เราจ่าย ไม่เท่ากัน” เฉกเช่นเดียวกับการกับเรื่องของเพศและอาชีพการงานต่างๆ ก็ส่งผลทั้งหมด แต่คงมีหลายๆ คนไม่ทราบว่า “ประกันสำหรับผู้หญิง” ไม่ว่าจะเป็นประกันทั่วๆ ไป จะแตกต่างกันอีกด้วย บทความนี้จะพาทุกๆ ท่านไปค้นหาข้อมูลกันครับ

ประกันทั่วๆ ไปมีอะไรบ้าง?

การประกันภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ การประกันชีวิต (Life Insurance) (click ชื่อแล้วให้ link ไปยังหัวข้อ ประกันชีวิต)และการประกันวินาศภัย (Non-Life Insurance) ซึ่งสามารถยกตัวอย่างได้ดังต่อไปนี้

●การประกันภัยบุคคล (Insurance of the person) เป็นการประกันภัยเกี่ยวกับภัยที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือที่เกิดกับบุคคล ได้แก่ การประกันชีวิต, การประกันอุบัติเหตุ, การประกันสุขภาพ

●การประกันภัยทรัพย์สิน (Property Insurance) เป็นการประกันที่บริษัทผู้รับประกันภัยทำสัญญายินยอมที่จะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือชดใช้เงินจำนวนหนึ่งให้กับผู้เอาประกันภัย ในกรณีที่เกิดความเสียหายเกี่ยวกับทรัพย์สินที่เอาประกัน ได้แก่เป็นการประกันที่บริษัทผู้รับประกันภัยทำสัญญายินยอมที่จะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือชดใช้เงินจำนวนหนึ่งให้กับผู้เอาประกันภัย ในกรณีที่เกิดความเสียหายเกี่ยวกับทรัพย์สินที่เอาประกัน ได้แก่ การประกันอัคคีภัย, การประกันภัยทางทะเลและขนส่ง, การประกันภัยรถยนต์, การประกันภัยเบ็ดเตล็ด

ค่าเบี้ยประกันที่เราต้องจ่าย มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอะไรบ้าง?

ขึ้นอยู่กับจำนวนเงินความคุ้มครอง เพราะแต่ละกรมธรรม์ก็มีรายละเอียดความคุ้มครองที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นค่าห้อง ค่าอาหาร และการพยาบาล ค่าห้องไอซียู ค่ารักษาพยาบาลทั่วไป ค่าธรรมเนียมแพทย์ผ่าตัด หรือค่าดูแลโดยแพทย์ ฯลฯ ยิ่งเราเลือกกรมธรรม์ที่มีวงเงินคุ้มครองสูงขึ้นเท่าไหร่ ค่าเบี้ยประกันที่เราต้องจ่ายก็จะมากขึ้นตามไปด้วย

ขึ้นอยู่กับประวัติทางสุขภาพที่ผ่านมาของคุณ ปกติแล้วการเลือกซื้อประกันสุขภาพทั่วไปนั้น ก่อนที่จะได้รับการอนุมัติความคุ้มครอง เราจะต้องตอบคำถามสุขภาพตามจริงบางข้อ เพื่อให้บริษัทประกันแน่ใจว่าผู้ซื้อมีสุขภาพแข็งแรง ไม่ได้ป่วยเป็นโรคที่ไม่ได้อยู่ในเงื่อนไขความคุ้มครอง หรือหากเราเป็นผู้ที่มีประวัติเจ็บป่วยรุนแรงมาก่อน บริษัทประกันอาจจะมีการแจ้งให้เราทราบว่าค่าเบี้ยประกันที่เราต้องจ่ายนั้น อาจสูงกว่าผู้ที่ไม่มีประวัติเจ็บป่วยใดๆ เพราะมีความเสี่ยงมากกว่านั่นเอง

ขึ้นอยู่กับอายุของผู้ทำประกัน แน่นอนว่าอายุก็เป็นส่วนหนึ่งที่สามารถระบุความเสี่ยงในการเจ็บป่วยได้เหมือนกัน เนื่องจากผู้ที่มีอายุมากก็มีโอกาสเจ็บป่วยได้มากขึ้น รวมถึงอาจมีโอกาสเป็นโรคเรื้อรัง หรือโรคแทรกซ้อนที่ร้ายแรง ที่ต้องใช้เวลารักษาตัวยาวนานกว่าคนที่มีอายุน้อย

ขึ้นอยู่กับเพศของคุณ จากการสำรวจทางสถิติของ สสส. พบว่า เพศชายจะมีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 71 ปี และเพศหญิงจะมีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 77 ปี แต่แม้ผู้หญิงจะมีอายุเฉลี่ยยืนยาวกว่าผู้ชาย ทาง สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ก็ได้ระบุว่า ปกติเพศหญิงจะใช้เวลาฟื้นตัวจากการเจ็บป่วยนานกว่าเพศชาย จึงอาจทำให้มีค่าเบี้ยประกันที่สูงกว่าได้

ประกันสำหรับคุณผู้หญิงที่น่าสนใจ

วิริยะประกันภัย Healthcare by BDMS

ประกันภัยสุขภาพแบบเหมาจ่ายจากวิริยะประกันภัย Viriyah Healthcare by BDMS ที่ให้ความคุ้มครองค่ารักษาเหมาจ่ายสูงสุดถึง 700,000 บาท / ปี* ค่าห้องสูงสุด 8,000 บาท / วัน* สำหรับการเข้ารักษาที่โรงพยาบาลในเครือ BDMS พร้อมส่วนลดหากไม่มีประวัติการเคลมมาก่อน ไม่ต้องตรวจสุขภาพก่อนทำประกัน สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ เหมาะสำหรับการรับมือโรคร้ายๆ ของคุณผู้หญิงมากๆ เลยครับ

ทิพยประกันภัยจัดเต็ม 15000

ประกันภัยสุขภาพ ทิพยจัดเต็ม 15,000 เป็นประกันภัยสุขภาพที่เน้นการรักษาในโรงพยาบาลในเครือ BDMS สามารถรักษาได้ทั้ง IPD (ผู้ป่วยใน) และ OPD (ผู้ป่วยนอก) พร้อมค่าเบี้ยประกันภัยเท่ากันทุกช่วงอายุ เริ่มต้นเพียง 15,000 บาท แต่คุ้มครองสูงสุดถึง 500,000 บาท/ปี* เหมาะสำหรับคุณผู้หญิงครับ

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับข้อมูลเกี่ยวกับ “ประกันสำหรับผู้หญิง” และข้อมูลเกี่ยวกับประกันทั่วๆ ไปที่เราได้นำมาฝากกันในบทความนี้ หวังว่าจะเป็นประโยชน์นะครับ